คนนิจะวะมินะซะมะ
สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งกับ Japan Dream News
คลังสำหรับคนรักญี่ปุ่น
ครบถ้วนทุกเรื่องราว
ที่เราจะนำเสนอแต่เนื้อหาสาระที่มีหัวข้อหลักมากมายหลากหลายกันไป
ในวันนี้เราจะนำศิลปะโบราณที่ยังดำรงสืบทอดกัน
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันให้กับทุกคนได้รับรู้กันนะคะ
◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆
ศิลปะอันโบราณนี้ที่ไม่ว่ายังไงคุณก็ยังสามารถเห็นได้ตามศาลเจ้าในประเทศญี่ปุ่นอย่างล้นหลาม
เพราะเป็นพิธีที่ได้รับความนิยมและความประทับใจเป็นอย่างมาก
พิธีที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นั่นคือ พิธีแต่งงาน
ค่ะ ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีพิธีแต่งงานแบบตะวันตกเข้ามา
น้อยคนนักที่จะจัดพิธีแต่งงานแบบดั้งเดิมที่เราจะนำเสนอในวันนี้
พิธีแต่งงานแบบดั้งเดิมที่เราพูดถึงกันอยู่
คือ พิธีแต่งงานแบบดั้งเดิมของศาสนาชินโตค่ะ หรือที่เรียกกันว่า ชินเซ็นชิคิ
ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า神前式「しぜんしき」(Shinzen shiki)
ชินเซ็นชิคิ
เป็นพิธีแต่งงานแบบดั้งเดิมของศาสนาชินโตที่มีความสวยงามในความศักดิ์สิทธิ์และพิธีกรรม
ที่เข้ามาในช่วงปี 1990
เป็นพิธีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ที่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะสวมใส่ชุดแต่งงานแบบดั้งเดิมของศาลเจ้าชินโต
ซึ่งเจ้าสาวนั้นจะสวมใส่เป็นชุดกิโมโนสีขาว
หรือที่เรียกว่า ชิโรมุคุ
ในภาษาญี่ปุ่นจะเขียนว่า 白無垢「しろむく」(Shiromuku) นั่นเองค่ะ
รูปแบบของชุดชิโรมุคุจะเป็นสีขาวทั้งชุด ให้ความบริสุทธิ์ของหญิงสาวผู้นั้น
ว่ากันว่าที่ชุดเจ้าสาวชิโรมุคุเป็นสีขาวนั้น เขาต้องการจะสื่อความหมายที่ว่า
เจ้าสาวคนนั้นพร้อมที่จะย้อมตัวเองให้เป็นสีเดียวกับสีของครอบครัวทางฝ่ายเจ้าบ่าวค่ะ
◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆
ก่อนที่จะมีการเริ่มพิธีจริง จะต้องมีการซ้อมพิธีแต่งงานอยู่หลายครั้ง โดยการจัดงานจะเน้นการจัดแบบใหญ่โต ใช้งบประมาณที่สูงพอสมควร เพื่อให้เป็นเกียรติแก่คู่บ่าวสาวและครอบครัว
แล้วสิ่งสำคัญภายในงานที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ
สินสอด หรือในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกกันว่า โกชูกิ (Goshugi) ที่มักจะให้กันเป็นของที่มีความหมายมงคลอย่างเช่น กิโมโน และ โอบิ
มากกว่าเงินทองตามแบบฉบับในปัจจุบัน แต่ซึ่งภายหลังก็นิยมให้กันเป็นเงินทองแทน
สินสอดนี้มักจะส่งให้กับเจ้าสาวล่วงหน้า
หรือจะให้ในวันจัดงานเลยก็เช่นกัน โดยไม่มีการกำหนดว่าสินสอดจะต้องมีมูลค่าเท่าใด
แต่จะเป็นการคำนวณจากเงินเดือนของเจ้าบ่าวและบวกเพิ่มเข้าไปอีก 2 – 3 เท่า
ซึ่งฝ่ายเจ้าสาวเองนั้นก็จะมอบของตอบแทนที่มีมูลค่าครึ่งหนึ่งของสินสอดกลับไปให้ทางฝ่ายเจ้าบ่าวด้วยเช่นกัน
◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆◇◆
เมื่อถึงวันแต่งงาน ผู้ที่เข้าร่วมพิธีจะมีแค่เพียง พ่อแม่ พี่น้อง และญาติเท่านั้น ในพิธีจะมีหัวหน้านักบวชของชินโต หรือที่เรียกว่า คันนูชิ (Kannushi) เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมที่ศาลเจ้า บ่าวสาวจะต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดบริสุทธิ์เรียกว่า ฮาไร (Harai) ด้วยน้ำบริสุทธิ์จากศาลชินโต หรือที่เรียกว่า น้ำมิโซกิ (Misogi) และหลีกเลี่ยงที่จะทำตัวให้สกปรก เพราะต้องบริสุทธิ์สดใสในพิธี
จากนั้นบ่าวสาวต้องเขียนวาทะสัญญาด้วยตัวเอง ว่าจะรักและซื่อสัตย์ต่อกันไปจนตาย
โดยมีพ่อแม่และญาติพี่น้องร่วมเป็นสักขีพยาน แต่ใบวาทะสัญญานั้นไม่ใช่การจดทะเบียนสมรส
เป็นเพียงเครื่องเตือนใจเท่านั้น
พิธีดำเนินต่อโดยหญิงสาวโสดสวมกิโมโนสีแดง หรือที่เรียกว่า
มิโกะ (Miko) ผู้ทำหน้าที่รับใช้เทพเจ้าที่ศาลชินโต
จะสักการบูชาเทพเจ้าโดยการโค้งคำนับ 2 ครั้ง ในระหว่างพิธีเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะต้องจ้องตากัน
และจิบสาเกจากถ้วย 3 ใบ ใบละ 3 ครั้ง
หลังจากจิบครั้งที่ 1 ทั้งสองได้ถือว่าเป็นคู่สมรส และเมื่อครบทั้ง 9 ครั้งแล้ว
ทั้งสองจะต้องบรรจงวางถ้วยลงบนพื้นให้พร้อมกัน เพื่อเป็นเคล็ดให้เคียงคู่กันตลอดไป
# --------------------------------------------------------- #
เป็นยังไงกันบ้างคะ?
พิธีแต่งงานในรูปแบบชินโตที่มีเอกลักษณ์และความศักดิ์สิทธิ์ในตัว
จากพิธีกรรมที่ได้ประกอบขึ้น
จากความรักของคนสองคน
แล้วกลับมาพบกันใหม่บทความหน้านะคะ
โปรดติดตามข้อมูลใหม่ๆ ของประเทศญี่ปุ่นที่เราจะมาแนะนำให้อีกนะคะ
อ่อ ! มีกิจกรรมให้ร่วมสนุกลุ้นรับรางวัลแน่นอน !
แอดมาเลยค่ะ ตามนี้ ฟิ้วว ~ [ LINE@ : @yumebi ]
- つづく -
( แหล่งที่มา : http://www.แต่งงานกัน.com/2190.html , http://www.we-mag.com/only-on-web/world-wide-wed/พิธีแต่งงานญี่ปุ่น/ )
ขุดเจ้าบ่าวละคับแต่งยังไง
ตอบลบ